Web Blog การเรียนรู้ทักษะที่จำเป็นสำหรับผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 ประกอบการเรียนการสอนวิชาประวัติศาสตร์ (สาระเพิ่ม) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ส 23102

วิดิโอ

วันจันทร์ที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2558

พระราชประวัติรัชกาลที่5

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ฯ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว หรือ พระพุทธเจ้าหลวง ทรงเป็นรัชกาลที่ 5 แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ พระบรมราชสมภพเมื่อ วันอังคาร เดือน 10 แรม 3 ค่ำ ปีฉลู 20 กันยายน พ.ศ. 2396 เป็นพระราชโอรสองค์ที่ 9 ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และเป็นที่ 1 ในสมเด็จพระเทพศิรินทรามาตย์ เสวยราชสมบัติ เมื่อวันพฤหัสบดี เดือน 11 ขึ้น 15 ค่ำ ปีมะโรง (พ.ศ. 2411) รวมสิริดำรงราชสมบัติ 42 ปี เสด็จสวรรคต เมื่อวันเสาร์ เดือน 11 แรม 4 ค่ำ ปีจอ (23 ตุลาคม พ.ศ. 2453) ด้วยโรคพระวักกะ รวมพระชนมพรรษา 58 พรรษา

                       พระองค์ทรงปกครองอาณาประชาราษฎร ให้ร่มเย็นเป็นสุข ทรงโปรดการเสด็จประพาสต้น เพื่อให้ได้ทรงทราบถึงความเป็นอยู่ที่แท้จริงของราษฎร ทรงสนพระทัยในวิชาความรู้ และวิทยาการแขนงต่าง ๆ อย่างกว้างขวาง และนำมาใช้บริหารประเทศให้ เจริญรุดหน้าอย่างรวดเร็ว พระองค์จึงได้รับถวายพระราชสมัญญานามว่า สมเด็จพระปิยมหาราช และมีความหมายว่า พระมหากษัตริย์ผู้ทรงเป็นที่รักยิ่งของปวง
          พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2396 เป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ประสูติแต่กรมสมเด็จพระเทพศิรินทรามาตย์ (ต่อมาภายหลังในสมัยรัชกาลที่ 6 ได้มีการเปลี่ยนแปลงพระนามเจ้านายฝ่ายในให้ถูกต้องชัดเจนตามโบราณราชประเพณีนิยมยุคถัดมาเป็น สมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี) ได้รับพระราชทานนามว่า สมเด็จเจ้าฟ้าชายจุฬาลงกรณ์ บดินทรเทพมหามงกุฎ บุรุษยรัตนราชรวิวงศ์วรุตมพงศบริพัตร สิริวัฒนราชกุมาร
         พระองค์ทรงมีพระขนิษฐาและพระอนุชารวม 3 พระองค์ ได้แก่ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจันทรมณฑล กรมหลวงวิสุทธิกระษัตริย์ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจาตุรนต์รัศมี กรมพระจักรพรรดิพงศ์ และ สมเด็จพระราชปิตุลาบรมพงศาภิมุข เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช
         วันที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2404 สมเด็จเจ้าฟ้าชายจุฬาลงกรณ์ ได้รับการสถาปนาให้ขึ้นทรงกรมเป็น สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ กรมหมื่นพิฆเนศวรสุรสังกาศ [1] และเมื่อ พ.ศ. 2409 พระองค์ทรงผนวชตามราชประเพณี ณ วัดบวรนิเวศวิหาร ภายหลังจากการทรงผนวช พระองค์ได้รับการเฉลิมพระนามาภิไธยขึ้นเป็น สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ กรมขุนพินิตประชานาถ เมื่อปี พ.ศ. 2410 โดยทรงกำกับราชการกรมมหาดเล็ก กรมพระคลังมหาสมบัติ และกรมทหารบกวังหน้า
                                                                                                                       
            พระราชกรณียกิจที่สำคัญ
               การเลิกทาส                 ทาสตามกฎหมายโบราณ แยกทาสเอาไว้ทั้งหมด 7 ชนิดด้วยกันคือ
        1.ทาสสินไถ่
        2.ทาสในเรือนเบี้ย
        3.ทาสได้มาแต่บิดามารดา
        4.ทาสท่านให้
        5.ทาสช่วยมาแต่ทัณฑ์โทษ
        6.ทาสที่เลี้ยงไว้เมื่อเกิดทุพภิกขภัย
        7.ทาสเชลยศึก
              ประเทศไทยนั้นมีการใช้ทาสมาเป็นเวลานานเพื่อใช้ทำกิจการต่าง ๆ ในบ้านเจ้านายชั้นผู้ใหญ่ที่สูงศักดิ์ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ทรงทอดพระเนตรเห็นทาสนี้มีมาตั้งแต่สมัยโบราณจนถือเป็นประเพณีแล้ว เจ้านายหรือขุนนาง เสนาบดีที่เป็นใหญ่ในแผ่นดินมักมีทาสเป็นข้ารับใช้ที่มไอาจสร้างความเป็นไท แก่ตัวเอง พระองค์ทรงใช้พระวิริยะอุตสาหะที่จะทำให้สิ่งเหล่านี้หมดไปพระองค์ทรงใช้ ระยะเวลาอันยาวนานกับการเลิกทาส ด้วยทรงพระราชดำริกับเสนาบดีและข้าราชบริพารเกี่ยวกับเรื่องทาส พระองค์ทรงคิดหาวิธีที่จะปลดปล่อยทาสให้ได้รับความเป็นไท ด้วยวิธีการละมุนละม่อม ทำตามลำดับขั้นตอน จนกระทั่งประสบความสำเร็จในการเลิกทาสในที่สุด
         ในปี พ.ศ. 2417 โปรดให้ตราพระราชบัญญัติพิกัดเกษียณอายุของลูกทาสโดยกำหนดเอาไว้ว่าลูกทาส ที่เกิดแต่ปีมะโรง พ.ศ. 2441 อันเป็นปีแรกที่พระองค์ทรงขึ้นครองราชย์ ก็ให้ใช้อัตราค่าตัวเสียใหม่ตามที่ระบุไว้ในพระราชบัญญัตินี้ พออายุครบ 8 ปี ก็ให้ตีค่าออกมาให้เต็มตัว จนกว่าจะครบ 20 ปีบริบูรณ์ ให้กลับเป็นไทแก่ตัว เมื่อก้าวพ้นเป็นอิสระแล้วห้ามกลับมาเป็นทาสอีก ทรงระบุเรื่องโทษของการเป็นทางทั้งแก่ผู้ซื้อและผู้ขายเอาไว้ด้วย เป็นการป้องกันมิให้เกิดการกลับมาเป็นทาสอีก
         ด้วยพระเมตตาในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ด้วยทรงห่วงใยต่อพสกนิกรของพระองค์เอง การดำริเรื่องการเลิกทาสนั้น พระองค์ทรงเริ่มการปลดปล่อยทาสตั้งแต่ทรงขึ้นครองราชย์ใหม่ๆ พระองค์ท่านใช้ความวิริยะอุตสาหะ ที่จะออกกฎหมายมาบังคับให้เจ้านายชั้นผู้ใหญ่ที่เป็นนายเงิน ให้ปลดปล่อยทาสให้ได้รับอิสระเป็นไทแก่ตัว พระองค์ท่านต้องใช้เวลากว่า 30 ปี ในการที่จะไม่ให้มีทาสเหลือยู่ในพระราชอาราจักรของพระองค์ท่านอีก โดยที่มิต้องสูญเสียเลือดเนื้อในการเลิกทาสแม้แต่หยดเดียว ซึ่งแตกต่างกับต่างชาติที่เมื่อประกาสเลิกทาส ก็เกิดการคัดค้านต่อต้านขึ้นจนทำให้เกิดเหตุการณ์นองเลือด
 

                        
       การเสด็จประพาส
                 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงชื่นชอบการเสด็จประพาสยิ่งนัก พระองค์ทรงเสด็จประพาสทั้งเป็นทางการและไม่เป็นทางการ บางครั้งทรงปลอมพระองค์ทรงปลอมพระองค์เป็นสามัญชนบ้าง ปลอมเป็นขุนนางบ้าง เพื่อเสด็จดูแลทุกข์สุขของประชาชนในหัวเมืองต่าง ๆ มากมาย การเสด็จประพาสบ่อยครั้งทำให้ทรงได้ทอดพระเนตรเห็นสิ่งต่าง ๆ มากมายทั้งที่ดีและไม่ดี สิ่งเหล่านี้พระองค์ท่านได้นำมาพัฒนาบ้านเมืองให้เกิดความเจริญขึ้น จะเห็นได้จากที่พระองค์ทรงพระราชดำริในการเสด็จประพาสในแต่ละครั้ง
         ในปี พ.ศ. 2413 ทรงเสด็จพระราชดำเนินไปเยือนประเทศเพื่อนบ้านเป็นครั้งแรก ทรงเลือกที่จะเสด็จพระราชดำเนินไปในประเทศเพื่อบ้านใกล้เคียง คือ ประเทศสิงคโปร์ และประเทศชวา ด้วยทรงต้องการที่จะเจริญสัมพันธไมตรีกับประเทศเพื่อนบ้านในแถบอินโดจีนด้วย และเพื่อเรียนรู้การปกครองเนื่องด้วยประเทศทั้งสองนี้ต่างก็เป็นเมืองขึ้น ของประเทศอังกฤษ
           ต่อมาในปี พ.ศ. 2415 ทรงได้เสด็จเยือนประเทศเพื่อนบ้านอีก 2 ประเทศ คือประเทศอินเดีย และประเทศพม่า และเมื่อที่เสด็จไปประเทศอินเดียนั้น ทรงได้รับการถวายพระบรมสารีริกธาตุและพันธุ์พระศรีมหาโพธิ์จากพุทธคยา อินเดีย เพื่อนำกลับมาปลูกในประเทศไทย ทั้งนี้เป็นการทำนุบำรุงพระศาสนาให้เกิดความศรัทธาเลื่อมใสมากขึ้น
         ด้วยในขณะนั้นประเทศในแถบอินโดจีนได้รับการรุกรานจากประเทศมหาอำนาจ จากตะวันตกและด้วยประเทศในแถบอินโดจีนนั้นเป็นปรเทศที่ด้วยพัฒนา ทำให้ตกเป็นเมืองขึ้นของประเทศมหาอำนาจได้โดยง่า รวมถึงประเทศไทยก็กำลังต้องเผชิญกับสภาวะนี้อยู่เช่นกัน ด้วยสายพระเนตรที่ยาวไกลของพระองค์ในกาลนี้ พระองค์จึงตั้งพระทัยที่จะเสด็จประพาสยุโรปเพื่อเจริญสัมพันธไมตรีกับประเทศ มหาอำนาจเหล่านั้น
           พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเสด็จประพาสยุโรปเป็นครั้งแรก ในปี พ.ศ. 2440 โดยประเทศที่ได้เสด็จประพาส คือ ประเทศอังกฤษ ฝรั่งเศส เดนมาร์ก สวีเดน เบลเยี่ยม อิตาลี ออกสเตรเลีย ฮังการี สเปน เนเธอร์แลนด์ สวิตเซอร์แลนด์ อียิปต์และเยอรมัน ทั้งนี้มีเหตุผลอยู่หลายประการในการเสด็จประพาสครั้งนี้ คือ เพื่อเจริญสัมพันธไมตรีกับประเทศมหาอำนาจ และร่วมปรึกษาหารือในการแก้ไขปัญหาบ้านเมือง ซึ่งในขณะนั้นมีปัญหาการสู้รบกันอยู่ การเสด็จประพาสของพระองค์ในครั้งนี้พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้รับการต้อนรับอย่างยิ่งใหญ่และสมพระเกียรติของพระมากษัตริย์ไทย
         ในปี พ.ศ 2449 พระองค์ได้เสด็จประพาสยุโรปอีกเป็นครั้งที่ 2 การเสด็จประพาสครั้งนี้ นำความเจริญมาสู่บ้านเมืองอย่างมากมาย ทั้งนี้มีความประสงค์ที่จะพัฒนาประเทศไทยให้ได้รับความเจริญก้าวหน้าให้ทัด เทียมกับนานาประเทศ
          ด้านสถาปัตยกรรม 
          ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นงานศิลปที่ได้รับอิทธิพลมาจากตะวันตกด้วยเหตุผลที่ว่าจะประหยัดค่าใช้ จ่ายในการก่อสร้างเนื่องด้วยสถาปัตยกรรมตะวันตกไม่สลับซับซ้อนเท่าไรอีกทั้ง ยังทรงได้มีการเสด็จประพาสยุโรป พระองค์จึงนำสถาปัตยกรรมตะวันตกมาผสมผสานกับสถาปัตยกรรมไทยได้อย่างงดงาม ดังจะเห็นได้จากงานสถาปัตยกรรม ดังต่อไปนี้
        1. พระที่นั่งอนันตสมาคม เป็นศิลปกรรมอิตาลี ใช้เป็นสถานที่ในการออกท้องพระโรงว่าราชการเมือง
 
        2. วัดนิเวศน์ธรรมประวัติ เป็นงานศิลปะไทยที่ผสมผสานกับตะวันตกได้อย่างงดงามลงตัว วัดแห่งนี้อยู่ฝั่งตรงข้ามกับ พระราชวังบางปะอิน
        3. พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท เป็นงานที่ผสมผสานระหว่างศิลปะไทยและตะวันตกอีกชี้นหนึ่งที่มีความงดงาม ตั้งอยู่ในบริเวณพระบรมราชวัง
 
        4. พระราชวังดุสิต
        5. พระบรมราชนิเวศน์
        6. ศาลาว่าการกระทรวงกลาโหม 
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ฯ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว หรือ พระพุทธเจ้าหลวง ทรงเป็นรัชกาลที่ 5 แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ พระบรมราชสมภพเมื่อ วันอังคาร เดือน 10 แรม 3 ค่ำ ปีฉลู 20 กันยายน พ.ศ. 2396 เป็นพระราชโอรสองค์ที่ 9 ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และเป็นที่ 1 ในสมเด็จพระเทพศิรินทรามาตย์ เสวยราชสมบัติ เมื่อวันพฤหัสบดี เดือน 11 ขึ้น 15 ค่ำ ปีมะโรง (พ.ศ. 2411) รวมสิริดำรงราชสมบัติ 42 ปี เสด็จสวรรคต เมื่อวันเสาร์ เดือน 11 แรม 4 ค่ำ ปีจอ (23 ตุลาคม พ.ศ. 2453) ด้วยโรคพระวักกะ รวมพระชนมพรรษา 58 พรรษา

                       พระองค์ทรงปกครองอาณาประชาราษฎร ให้ร่มเย็นเป็นสุข ทรงโปรดการเสด็จประพาสต้น เพื่อให้ได้ทรงทราบถึงความเป็นอยู่ที่แท้จริงของราษฎร ทรงสนพระทัยในวิชาความรู้ และวิทยาการแขนงต่าง ๆ อย่างกว้างขวาง และนำมาใช้บริหารประเทศให้ เจริญรุดหน้าอย่างรวดเร็ว พระองค์จึงได้รับถวายพระราชสมัญญานามว่า สมเด็จพระปิยมหาราช และมีความหมายว่า พระมหากษัตริย์ผู้ทรงเป็นที่รักยิ่งของปวง
          พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2396 เป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ประสูติแต่กรมสมเด็จพระเทพศิรินทรามาตย์ (ต่อมาภายหลังในสมัยรัชกาลที่ 6 ได้มีการเปลี่ยนแปลงพระนามเจ้านายฝ่ายในให้ถูกต้องชัดเจนตามโบราณราชประเพณีนิยมยุคถัดมาเป็น สมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี) ได้รับพระราชทานนามว่า สมเด็จเจ้าฟ้าชายจุฬาลงกรณ์ บดินทรเทพมหามงกุฎ บุรุษยรัตนราชรวิวงศ์วรุตมพงศบริพัตร สิริวัฒนราชกุมาร
         พระองค์ทรงมีพระขนิษฐาและพระอนุชารวม 3 พระองค์ ได้แก่ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจันทรมณฑล กรมหลวงวิสุทธิกระษัตริย์ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจาตุรนต์รัศมี กรมพระจักรพรรดิพงศ์ และ สมเด็จพระราชปิตุลาบรมพงศาภิมุข เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช
         วันที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2404 สมเด็จเจ้าฟ้าชายจุฬาลงกรณ์ ได้รับการสถาปนาให้ขึ้นทรงกรมเป็น สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ กรมหมื่นพิฆเนศวรสุรสังกาศ [1] และเมื่อ พ.ศ. 2409 พระองค์ทรงผนวชตามราชประเพณี ณ วัดบวรนิเวศวิหาร ภายหลังจากการทรงผนวช พระองค์ได้รับการเฉลิมพระนามาภิไธยขึ้นเป็น สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ กรมขุนพินิตประชานาถ เมื่อปี พ.ศ. 2410 โดยทรงกำกับราชการกรมมหาดเล็ก กรมพระคลังมหาสมบัติ และกรมทหารบกวังหน้า
                                                                                                                       
            พระราชกรณียกิจที่สำคัญ
               การเลิกทาส                 ทาสตามกฎหมายโบราณ แยกทาสเอาไว้ทั้งหมด 7 ชนิดด้วยกันคือ
        1.ทาสสินไถ่
        2.ทาสในเรือนเบี้ย
        3.ทาสได้มาแต่บิดามารดา
        4.ทาสท่านให้
        5.ทาสช่วยมาแต่ทัณฑ์โทษ
        6.ทาสที่เลี้ยงไว้เมื่อเกิดทุพภิกขภัย
        7.ทาสเชลยศึก
              ประเทศไทยนั้นมีการใช้ทาสมาเป็นเวลานานเพื่อใช้ทำกิจการต่าง ๆ ในบ้านเจ้านายชั้นผู้ใหญ่ที่สูงศักดิ์ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ทรงทอดพระเนตรเห็นทาสนี้มีมาตั้งแต่สมัยโบราณจนถือเป็นประเพณีแล้ว เจ้านายหรือขุนนาง เสนาบดีที่เป็นใหญ่ในแผ่นดินมักมีทาสเป็นข้ารับใช้ที่มไอาจสร้างความเป็นไท แก่ตัวเอง พระองค์ทรงใช้พระวิริยะอุตสาหะที่จะทำให้สิ่งเหล่านี้หมดไปพระองค์ทรงใช้ ระยะเวลาอันยาวนานกับการเลิกทาส ด้วยทรงพระราชดำริกับเสนาบดีและข้าราชบริพารเกี่ยวกับเรื่องทาส พระองค์ทรงคิดหาวิธีที่จะปลดปล่อยทาสให้ได้รับความเป็นไท ด้วยวิธีการละมุนละม่อม ทำตามลำดับขั้นตอน จนกระทั่งประสบความสำเร็จในการเลิกทาสในที่สุด
         ในปี พ.ศ. 2417 โปรดให้ตราพระราชบัญญัติพิกัดเกษียณอายุของลูกทาสโดยกำหนดเอาไว้ว่าลูกทาส ที่เกิดแต่ปีมะโรง พ.ศ. 2441 อันเป็นปีแรกที่พระองค์ทรงขึ้นครองราชย์ ก็ให้ใช้อัตราค่าตัวเสียใหม่ตามที่ระบุไว้ในพระราชบัญญัตินี้ พออายุครบ 8 ปี ก็ให้ตีค่าออกมาให้เต็มตัว จนกว่าจะครบ 20 ปีบริบูรณ์ ให้กลับเป็นไทแก่ตัว เมื่อก้าวพ้นเป็นอิสระแล้วห้ามกลับมาเป็นทาสอีก ทรงระบุเรื่องโทษของการเป็นทางทั้งแก่ผู้ซื้อและผู้ขายเอาไว้ด้วย เป็นการป้องกันมิให้เกิดการกลับมาเป็นทาสอีก
         ด้วยพระเมตตาในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ด้วยทรงห่วงใยต่อพสกนิกรของพระองค์เอง การดำริเรื่องการเลิกทาสนั้น พระองค์ทรงเริ่มการปลดปล่อยทาสตั้งแต่ทรงขึ้นครองราชย์ใหม่ๆ พระองค์ท่านใช้ความวิริยะอุตสาหะ ที่จะออกกฎหมายมาบังคับให้เจ้านายชั้นผู้ใหญ่ที่เป็นนายเงิน ให้ปลดปล่อยทาสให้ได้รับอิสระเป็นไทแก่ตัว พระองค์ท่านต้องใช้เวลากว่า 30 ปี ในการที่จะไม่ให้มีทาสเหลือยู่ในพระราชอาราจักรของพระองค์ท่านอีก โดยที่มิต้องสูญเสียเลือดเนื้อในการเลิกทาสแม้แต่หยดเดียว ซึ่งแตกต่างกับต่างชาติที่เมื่อประกาสเลิกทาส ก็เกิดการคัดค้านต่อต้านขึ้นจนทำให้เกิดเหตุการณ์นองเลือด
 

                        
       การเสด็จประพาส
                 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงชื่นชอบการเสด็จประพาสยิ่งนัก พระองค์ทรงเสด็จประพาสทั้งเป็นทางการและไม่เป็นทางการ บางครั้งทรงปลอมพระองค์ทรงปลอมพระองค์เป็นสามัญชนบ้าง ปลอมเป็นขุนนางบ้าง เพื่อเสด็จดูแลทุกข์สุขของประชาชนในหัวเมืองต่าง ๆ มากมาย การเสด็จประพาสบ่อยครั้งทำให้ทรงได้ทอดพระเนตรเห็นสิ่งต่าง ๆ มากมายทั้งที่ดีและไม่ดี สิ่งเหล่านี้พระองค์ท่านได้นำมาพัฒนาบ้านเมืองให้เกิดความเจริญขึ้น จะเห็นได้จากที่พระองค์ทรงพระราชดำริในการเสด็จประพาสในแต่ละครั้ง
         ในปี พ.ศ. 2413 ทรงเสด็จพระราชดำเนินไปเยือนประเทศเพื่อนบ้านเป็นครั้งแรก ทรงเลือกที่จะเสด็จพระราชดำเนินไปในประเทศเพื่อบ้านใกล้เคียง คือ ประเทศสิงคโปร์ และประเทศชวา ด้วยทรงต้องการที่จะเจริญสัมพันธไมตรีกับประเทศเพื่อนบ้านในแถบอินโดจีนด้วย และเพื่อเรียนรู้การปกครองเนื่องด้วยประเทศทั้งสองนี้ต่างก็เป็นเมืองขึ้น ของประเทศอังกฤษ
           ต่อมาในปี พ.ศ. 2415 ทรงได้เสด็จเยือนประเทศเพื่อนบ้านอีก 2 ประเทศ คือประเทศอินเดีย และประเทศพม่า และเมื่อที่เสด็จไปประเทศอินเดียนั้น ทรงได้รับการถวายพระบรมสารีริกธาตุและพันธุ์พระศรีมหาโพธิ์จากพุทธคยา อินเดีย เพื่อนำกลับมาปลูกในประเทศไทย ทั้งนี้เป็นการทำนุบำรุงพระศาสนาให้เกิดความศรัทธาเลื่อมใสมากขึ้น
         ด้วยในขณะนั้นประเทศในแถบอินโดจีนได้รับการรุกรานจากประเทศมหาอำนาจ จากตะวันตกและด้วยประเทศในแถบอินโดจีนนั้นเป็นปรเทศที่ด้วยพัฒนา ทำให้ตกเป็นเมืองขึ้นของประเทศมหาอำนาจได้โดยง่า รวมถึงประเทศไทยก็กำลังต้องเผชิญกับสภาวะนี้อยู่เช่นกัน ด้วยสายพระเนตรที่ยาวไกลของพระองค์ในกาลนี้ พระองค์จึงตั้งพระทัยที่จะเสด็จประพาสยุโรปเพื่อเจริญสัมพันธไมตรีกับประเทศ มหาอำนาจเหล่านั้น
           พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเสด็จประพาสยุโรปเป็นครั้งแรก ในปี พ.ศ. 2440 โดยประเทศที่ได้เสด็จประพาส คือ ประเทศอังกฤษ ฝรั่งเศส เดนมาร์ก สวีเดน เบลเยี่ยม อิตาลี ออกสเตรเลีย ฮังการี สเปน เนเธอร์แลนด์ สวิตเซอร์แลนด์ อียิปต์และเยอรมัน ทั้งนี้มีเหตุผลอยู่หลายประการในการเสด็จประพาสครั้งนี้ คือ เพื่อเจริญสัมพันธไมตรีกับประเทศมหาอำนาจ และร่วมปรึกษาหารือในการแก้ไขปัญหาบ้านเมือง ซึ่งในขณะนั้นมีปัญหาการสู้รบกันอยู่ การเสด็จประพาสของพระองค์ในครั้งนี้พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้รับการต้อนรับอย่างยิ่งใหญ่และสมพระเกียรติของพระมากษัตริย์ไทย
         ในปี พ.ศ 2449 พระองค์ได้เสด็จประพาสยุโรปอีกเป็นครั้งที่ 2 การเสด็จประพาสครั้งนี้ นำความเจริญมาสู่บ้านเมืองอย่างมากมาย ทั้งนี้มีความประสงค์ที่จะพัฒนาประเทศไทยให้ได้รับความเจริญก้าวหน้าให้ทัด เทียมกับนานาประเทศ
          ด้านสถาปัตยกรรม  
          ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นงานศิลปที่ได้รับอิทธิพลมาจากตะวันตกด้วยเหตุผลที่ว่าจะประหยัดค่าใช้ จ่ายในการก่อสร้างเนื่องด้วยสถาปัตยกรรมตะวันตกไม่สลับซับซ้อนเท่าไรอีกทั้ง ยังทรงได้มีการเสด็จประพาสยุโรป พระองค์จึงนำสถาปัตยกรรมตะวันตกมาผสมผสานกับสถาปัตยกรรมไทยได้อย่างงดงาม ดังจะเห็นได้จากงานสถาปัตยกรรม ดังต่อไปนี้
        1. พระที่นั่งอนันตสมาคม เป็นศิลปกรรมอิตาลี ใช้เป็นสถานที่ในการออกท้องพระโรงว่าราชการเมือง
 
        2. วัดนิเวศน์ธรรมประวัติ เป็นงานศิลปะไทยที่ผสมผสานกับตะวันตกได้อย่างงดงามลงตัว วัดแห่งนี้อยู่ฝั่งตรงข้ามกับ พระราชวังบางปะอิน
        3. พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท เป็นงานที่ผสมผสานระหว่างศิลปะไทยและตะวันตกอีกชี้นหนึ่งที่มีความงดงาม ตั้งอยู่ในบริเวณพระบรมราชวัง
 
        4. พระราชวังดุสิต
        5. พระบรมราชนิเวศน์
        6. ศาลาว่าการกระทรวงกลาโหม 

พระราชประวัติรัชกาลที่9


ทรงพระราชสมภพ
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชทรงพระ นามเดิมว่า “พระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าภูมิพลอดุลยเดช” ทรงเป็นพระราชโอรสในสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลอดุลยเดช กรมหลวงสงขลานครินทร์ (ต่อมาได้รับการเฉลิมพระนามาภิไธยเป็น สมเด็จพระมหิตลาธิเบศรอดุลยเดชวิกรมพระบรมราชชนก) และหม่อมสังวาล
ต่อมาได้รับการเฉลิมพระนามาภิไธยเป็นสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี) พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชทรงเสด็จพระราชสมภพ เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2470 ณ โรงพยาบาลเมานท์ออเบอร์น (MOUNT AUBURN) รัฐเมสสาชูเขตต์ (MASSACHUSETTS) ประเทศสหรัฐอเมริกา
การศึกษา
เมื่อพระชนมายุได้ 5 พรรษา ทรงเข้ารับการศึกษาที่โรงเรียนมาแตร์เดอี กรุงเทพมหานคร ต่อจากนั้นทรงเสด็จไปศึกษาต่อ ณ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ในชั้นประถมศึกษา ที่โรงเรียนเมียร์มองต์ (MERRIMENT) เมืองโลซานน์ (LASAGNA) ในปี พ.ศ. 2478 ได้ทรงเข้าศึกษาต่อที่ CEDE NOUBELLE DE LA SUES ROMANCE CHILLY ซึ่งเป็นโรงเรียนเอกชนที่รับนักเรียนนานาชาติและทรงได้รับประกาศนียบัตร บาเชอลิเย เอ แลทร์ จากการศึกษา ดังกล่าว ทรงรอบรู้หลายภาษา ได้แก่ อังกฤษ ฝรั่งเศส เยอรมัน และ ละติน ในระดับอุดมศึกษาทรงเข้าศึกษาใน แผนกวิทยาศาสตร์ และวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเมือง โลชานน์ ต่อมาในปี พ.ศ. 2481 ได้เสด็จนิวัตกลับประเทศไทยพร้อมด้วยพระบรมเชษฐาธิราชพระบรมราชชนนี และสมเด็จพระนางเจ้าพี่นางเธอ
ครองราชย์
ขณะที่พระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภูมิพลอดุลยเดช พระชนมพรรษา 18 พรรษา รัฐบาลได้กราบบังคมทูลอัญเชิญขึ้นครองราชย์เป็นพระมหากษัตริย์ รัชกาลที่ 9 แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ เมื่อวันที่ 9 มิถุนายนนั้น ทรงเฉลิมพระปรมาภิไธยว่า สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช และรัฐบาลได้แต่งตั้งผู้สำเร็จราชการ บริหารราชกาลแผ่นดินแทนพระองค์ เนื่องจากยังทรงพระเยาว์ และต้องทรงศึกษา ต่อ ณ ต่างประเทศ
เมื่อวันที่ 19 สิงหาคม 2489 ได้เสด็จพระราชดำเนินกลับไปทรงศึกษาต่อ ณ กรุงโลซานน์ แม้พระองค์จะทรงโปรดวิชาวิศวกรรมศาสตร์แต่เพื่อประโยชน์ ในการปกครองประเทศได้ทรงเปลี่ยนมาศึกษาวิชาการปกครองแทนเช่น วิชากฎหมาย อักษรศาสตร์ รัฐศาสตร์ รัฐประศาสนศาสตร์ภูมิศาสตร์ นอกจากนี้ ทรงศึกษา และฝึกฝนการดนตรีด้วยพระองค์เองด้วย
ในพ.ศ. 2491 ระหว่างทรงศึกษาอยู่ ณ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์นั้น สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ได้ทรงขับรถยนต์ไปทรงร่วมงานที่สถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงปารีส ได้ทรงพบและมีพระราชหฤทัยสนิทเสน่หาในหม่อมราชวงศ์ สิริกิติ์ กิติยากร ธิดาของหม่อมเจ้านักขัตมงคล กิติยากร เอกอัครราชทูตไทยประจำกรุงปารีส
ในปีเดียวกันนี้สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงประสบอุบัติเหตุทางรถยนต์ อย่างรุนแรงทรงบาทเจ็บที่พระพักตร์พระเนตรขวา และพระเศียรทรงเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลมอร์เซส์ โปรดฯ ให้หม่อมเจ้าราชวงศ์สิริกิติ์มาเฝ้าฯ ถวายการดูแลอย่างใกล้ชิดพระสัมพันธภาพจึงแน่นแฟ้นขึ้น และต่อมาได้ทรงหมั้นหม่อมราชวงศ์ สิริกิติ์ เมื่อวันที่ 12 สิงหาคม 2492 โดยได้พระราชทานพระธำมรงค์วงที่สมเด็จพระบรมราชนกหมั้นสมเด็จพระราชชนนี
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชทรงได้รับการอภิบาลอย่างดียิ่ง จากสมเด็จพระราชชนนี จึงมีพระปรีชาสามารถปราดเปรื่องและมีพระจริยวัตรเปี่ยม ด้วยคุณธรรมทุกประการซึ่งน้อมนำให้พระองค์เป็นพระมหากษัตริย์ผู้ทรงดำรงสิริ ราชสมบัติเพียบ พร้อมด้วยทศพิศราชธรรม จักรวรรดิวัตรธรรมและ ราชสังคหวัตถุทรงเจริญด้วยพระเกียรติคุณบุญญาธิการเจิดจำรัส ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจทั้งปวงเพื่อประโยชน์สุขของปวงชน เป็นที่แซ่ซ้องสรรเสริญ ทุกทิศานุทิศในเวลาต่อมาตราบจนปัจจุบัน
พระราชพิธีราชาภิเษกสมรส
เมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2493 สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชเสด็จพระราชดำเนินกลับประเทศไทย โปรดเกล้าให้ตั้งการพระราชพิธี ถวายพระเพลิง พระบรมศพพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล ระหว่างวันที่ 28-30 มีนาคม 2493 และเมื่อวันที่ 28 เมษายน 2493 ทรงประกอบพิธีราชาภิเษกสมรส กับ หม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ กิติยากร ที่วังสระปทุม โดยสมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวีพระพันวสาอัยยิกาเจ้า พระราชทานหลั่งน้ำพระมหาสังข์ทรงจด ทะเบียนสมรสตามกฎหมายเช่นเดียวกับประชาชน และได้ทรงสถาปนาหม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ ขึ้นเป็น สมเด็จพระราชินีสิริกิติ์
หลังจากนั้น ได้เสด็จไปประทับพักผ่อน ณ พระราชวังไกลกังวล หัวหิน และที่นี่เป็นแหล่งเกิดโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริโครงการแรกคือ พระราชทาน “ถนนสายห้วยมงคล” ให้แก่ “ลุงรวย”และชาวบ้านที่มาช่วยกันเข็นรถพระที่นั่งขึ้นจากหล่มดิน ทั้งนี้เพราะแม้ “ห้วยมงคล” จะอยู่ห่างอำเภอหัวหิน เพียง 20 กิโลเมตร แต่ไม่มีถนนหนทางชาวบ้านได้รับความเดือดร้อนในการดำรงชีวิตมากถนนสายห้วยมงคลนี้จึงเป็นถนนสายสำคัญ ที่นำไปสู่โครงการใน พระราชดำริ เพื่อบำบัดทุกข์ บำรุงสุขแก่พสกนิกรอีกจำนวนมากกว่า 2,000 โครงการในปัจจุบัน
พระบรมราชาภิเษก
วันที่ 5 พฤษภาคม 2493 สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชได้ทรงประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษกตามโบราณขัตติยราชประเพณี ณ พระที่นั่งไพศาลทักษิณ ในพระมหาราชวัง เฉลิมพระปรมาภิไธยตามจารึกในพระสุพรรณบัฏว่า
“พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศร รามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร” และได้พระราชทานพระปฐมบรมราชโองการเป็นสัจวาจาว่า “เราจะครองแผ่นดินโดยธรรมเพื่อประโยชน์สุขของมหาชนชาวสยาม”
ในการนี้ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาเฉลิมพระเกียรติยศ สมเด็จพระราชินีสิริกิติ์ พระอัครมเหสีเป็น สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินี
วันที่ 5 มิถุนายน 2493 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้เสด็จพร้อมด้วย สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินี ไปยังสวิตเซอร์แลนด์อีกครั้งเพื่อทรงรักษา พระสุขภาพ และเสด็จพระราชดำเนินนิวัติพระนคร เมื่อ 2 ธันวาคม 2494 ประทับ ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน และพระที่นั่งอัมพรสถาน
ทั้งสองพระองค์มีพระราชธิดา และพระราชโอรส 4 พระองค์ดังนี้
1. สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี ประสูติเมื่อ 5 เมษายน 2494 ณ โรงพยาบาลมองซัวนี่ โลซานน์ 
2. สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าวชิราลงกรณ์ฯ ประสูติเมื่อ 28 กรกฏคม 2495 ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน ต่อมา ทรงได้รับสถาปนาเป็น สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชเจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณฯ สยามมกุฎราชกุมาร เมื่อ 28 กรกฏคม 2515 
3. สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้าสิรินธรเทพรัตนสุดา กิติวัฒนาดุลนโสภาคย์ ประสูติเมื่อ 2 เมษายน 2498 ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน ภายหลังทรงได้รับสถาปนาเป็น สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา เจ้าฟ้ามหาจักรีสิรินธร รัฐสีมาคุณากรปิยชาติ สยามบรมราชกุมารี เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม 2520
4. สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี ประสูติเมื่อ 4 กรกฏคม 2500 ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน
ทรงพระผนวช
เมื่อวันที่ 22 ตุลาคม 2499 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงพระผนวช ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ทรงจำพรรษา ณ พระตำหนักปั้นหย่า วัดบวรนิเวศวิหาร ปฏิบัติพระศาสนกิจ เป็นเวลา 15 วัน ระหว่างนี้ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจแทนพระองค์ ต่อมาจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาเป็น สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ
ในรัชกาลนี้ได้ทรงพระกรุณาสถาปนาพระอิสริยยศสมเด็จพระบรมชนกนาถขึ้นเป็น สมเด็จพระมหิตลาธิเบศรอดุลยเดชวิกรมพระบรมราชชนก ทรงสถาปนา สมเด็จพระราชชนนี เป็น สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ทรงสถาปนาสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา เป็น สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลนาณิวัฒนา กรมหลวงนราธวาสราชนครินทร์ และทรงประกอบพระราชพิธีเฉลิมพระปรมาภิไธย สมเด็จพระบรมเชษฐาธิราช พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลใหม่ เมื่อวันที่ 8 มิถุนายน 2539 เพื่อให้สมพระเกียรติตามโบราณขัตติยราชประเพณี ทั้งนี้ด้วยพระจริยวัตร อันเปี่ยมด้วยพระกตัญญูกตเวทิตาธรรมอันเป็นที่แซ่ซ้องสรรเสริญพระปรมาภิไธยใหม่ที่ทรงสถาปนาคือ
“พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล อดุลยเดชวิมลรามาธิบดี จุฬาลงกรณราชปรียวรนัดดา มหิตลานเรศวรางกูร ไอศูรยสันตติวงศนิวิฐ ทศพิศราชธรรมอุกษฏนิบุณ อดุลยกฤษฏาภินิหารรังสฤษฏ์ สุสาธิตบูรพาธิการ ไพศาลเกียรติคุณอดุลพิเศษ สรรพเทเวศรานุรักษ์ ธัญอรรคลักษณวิจิตร โสภาคย์สรรพางค์ มหาชโนตมางคประณตบาทบงกชยุคล อเนกนิกรชนสโมสรสมมต ประสิทธิวรยศมโหดมบรมราชสมบัติ นพปฏลเศวตฉัตราดิฉัตร สรรพรัฐทศทิศวิชิตไชย สกลมไหศวริยมหาสวามินทร มเหศวรมหินทรมหารามาธราชวโรดม บรมนาถชาติอาชาวไศรย พุทธาทิไตรรัตนสรณารักษ์ วิศิษฏศักตอัครนเรษราธิบดี เมตตากรุณา สีตลหฤทัย อโนปมัยบุญการ สกลไพศาลมหารัษฏาธิบดี พระอัฐมรามาธิบดินทรสยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร”
พระราชกรณียกิจ
ตั้งแต่พุทธศักราช 2502 เป็นต้นมา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินี ได้เสด็จพระราชดำเนินไป ทรงกระฉับสัมพันธไมตรีกับประเทศต่าง ๆ ทั้งในยุโรป อเมริกา ออสเตรเลีย และ เอเชีย และได้เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมราษฎรในภูมิภาคต่างๆ ทุกภาคทรงประจักษ์ในปัญหาของราษฎร ในชนบทที่ดำรงชีวิตด้วยความยากจน ลำเค็ญและด้อยโอกาส ได้ทรงพระวิริยะอุตสาหะหาทางแก้ปัญหาตลอดมาตราบจนปัจจุบัน อาจกล่าวได้ว่า ทุกหนทุกแห่งบนผืนแผ่นดินไทยที่รอยพระบาทได้ประทับลง ได้ทรงขจัดทุกข์ยากนำความผาสุกและทรงยกฐานะความเป็นอยู่ ของราษฎร ให้ดีขึ้นด้วยพระบุญญาธิการและพระปรีชาสามารถปราดเปรื่อง พร้อมด้วยสายพระเนตรอันยาวไกล ทรงอุทิศพระองค์เพื่อประโยชน์สุขของราษฏร และเพื่อความเจริญพัฒนาของประเทศชาติตลอดระยะเวลาโดยมิได้ทรงคำนึงประโยชน์สุขส่วนพระองค์เลย
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานโครงการนานัปการมากกว่า 2,000โครงการ ทั้งการแพทย์สาธารณสุข การเกษตร การชลประทาน การพัฒนาที่ดิน การศึกษา การพระศาสนา การสังคมวัฒนธรรม การคมนาคม ตลอดจนการเศรษฐกิจเพื่อประโยชน์สุขของพสกนิกรในชนบท ทั้งยังทรงขจัด ปัญหาทุกข์ยาก ของประชาชนในชุมชนเมือง เช่น ทรงแก้ปัญหาการจราจรอุทกภัยและปัญหาน้ำเน่าเสียในปัจจุบัน ได้ทรงริเริ่มโครงการการช่วยสงเคราะห์ และอนุรักษ์ช้างของไทยอีกด้วย
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงตรากตรำพระวรกายทรงงานอย่างมิทรงเหน็ดเหนื่อย แม้ในยามทรงพระประชวร ก็มิได้ทรงหยุดยั้งพระราชดำริเพื่อ ขจัดความทุกข์ผดุงสุขแก่พสกนิกร กลางแดดแผดกล้าพระเสโทหลั่งชุ่มพระพักตร์ และพระวรกายหยาดตกต้องผืนปถพีประดุจน้ำทิพย์มนต์ชโลมแผ่นดินแล้งร้าง ให้กลับคืนความอุดมสมบูรณ์นับแต่เสด็จเถลิงถวัลยราชย์ตราบจนปัจจุบัน
แม้ในยามประเทศประสบภาวะเศรษฐกิจ ตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2539 เป็นต้นมา ก็ได้พระราชทานแนวทางดำรงชีพแบบ “เศรษฐกิจพอเพียง” และ “ทฤษฎีใหม่” ให้ราษฎรได้พึ่งตนเอง ใช้ผืนแผ่นดินให้เกิดประโยชน์สูงสุดประกอบอาชีพอยู่กินตามอัตภาพซึ่งราษฎรได้ยึดถือปฏิบัติเป็นผลดีอยู่ในปัจจุบัน
พระอัจฉริยภาพ
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานความรักอันยิ่งใหญ่แก่อาณาประชาราษฎร์ พระราชภารกิจอันหนักเพื่อประโยชน์สุขของอาณาประชาราษฎร์ ปรากฏเป็นที่ประจักษ์เทิดทูนพระเกียรติคุณทั้งในหมู่ชาวไทยและชาวโลกจึงทรงได้รับการสดุดีและการทูลเกล้าฯ ถวายปริญญากิตติมศักดิ์เป็นจำนวนมากทุก สาขาวิชาการ ทั้งยังมีพระอัจฉริยภาพด้านดนตรีอย่างสูงส่ง ทรงพระราชนิพนธ์เพลงอันไพเราะนับแต่พระเยาว์จนถึงปัจจุบันรวม 47 เพลง ซึ่งนักดนตรีทั้งไทย และต่างประเทศนำไปบรรเลงอย่างแพร่หลาย เป็นที่ประจักษ์ในพระอัจฉริยภาพจนสถาบันดนตรีในออสเตรเลียได้ทูลเกล้าฯ ถวายสมาชิกภาพกิตติมศักดิ์ แด่พระองค์ นอกจากนั้นยังทรงเป็นนักกีฬาชนะเลิศรางวัลเหรียญทองในการแข่งขันกีฬาซีเกมส์ทรงได้รับยกย่องเป็น “อัครศิลปิน” ของชาตินอกจากทรง พระปรีชาสามารถด้านดนตรีแล้วยังทรงสร้างสรรค์งานจิตกรรมและวรรณกรรมอันทรงคุณค่าไว้เป็นทรัพย์สินทางปัญญาของชาติ เช่นทรงพระราชนิพนธ์ แปลเรื่อง ติโตนายอินทร์ผู้ปิดทองหลังพระและพระราชนิพนธ์เรื่องชาดกพระมหาชนก พระราชทานคติธรรมในการดำรงชีวิตด้วยความวิริยอุตสาหอดทนจนพบความสำเร็จแก่พสกนิกรทั้งปวง
ปวงชนชาวไทยต่างมีความจงรักภัคดีเป็นที่ยิ่งดังปรากฏว่าในวาระสำคัญ เช่นศุภวาระเถลิงถวัลยราชครบ 25 ปี พระราชพิธีรัชดาภิเษก 9 มิถุนายน 2514 พระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 5 รอบ 5 ธันวาคม 2530 พระราชพิธีรัชมังคลาภิเษกทรงดำรงค์สิริราชสมบัติยาวนานกว่าพระมหากษัตริย์ ทุกพระองค์ 2 กรกฎาคม 2531 มหามงคลสมัยฉลองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี 9 มิถุนายน 2539 และในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 5 ธันวาคม 2542 นี้ รัฐบาลและประชาชนชาวไทยได้พร้อมใจกัน จัดงานเฉลิมพระเกียรติและถวายพระพรชัยมงคลด้วยความกตัญญูกตเวที สำนึกในพระมหากรุณาธิคุณล้นเกล้าล้นกระหม่อมอย่างสมพระเกียรติทุกวาระ

วันอาทิตย์ที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2558

พระราชประวัติรัชกาลที่8

พระราชประวัติ
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล
รัชกาลที่ 8 แห่งราชวงศ์จักรี


พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล ทรงพระราชสมภพเมื่อ วันอาทิตย์ที่ 20 กันยายน พ.ศ.2468 ณ เมืองไฮเดนเบิร์ก (Heidenberg) ประเทศเยอรมนี ทรงมีพระนามเดิมว่า หม่อมเจ้าอานันทมหิดล ทรงเป็นพระราชโอรสพระองค์โต ในสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก (สมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลอดุลยเดช กรมหลวงสงขลารานครินทร์) และ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี (หม่อมเจ้าสังวาลย์ ตะละภัฏ) ทรงมีพระเชษฐภคินี 1 พระองค์ คือ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยานิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ และพระอนุชา 1 พระองค์ คือ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9

ในวันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ.2470 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 ได้มีพระบรมราชโองการประกาศสถาปนา ให้พระโอรสธิดาในสมเด็จเจ้าฟ้า ซึ่งมีพระราชชนนีเป็นสมเด็จพระอัครมเหสีในพระมหากษัตริย์ แต่พระมารดาในพระโอรสธิดาเป็นสามัญชน ตามธรรมเนียมราชสกุลพระโอรสธิดาจะต้องมีพระยศเป็นหม่อมเจ้า ให้ยกขึ้นเป็นพระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าทั้งหมด

ดังนั้น พระโอรสพระธิดาในสมเด็จพระพี่ยาเธอเจ้าฟ้ามหิดลอดุลยเดช กรมหลวงสงขลานครินทร์ จึงได้ดำรงพระยศเป็น พระวรวงศ์เธอพระองค์ เจ้าตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ซึ่งรวมไปถึงหม่อมเจ้าอานันทมหิดลพระองค์หนึ่งด้วย

ในวันที่ 24 กันยายน พ.ศ.2472 สมเด็จเจ้าฟ้ากรมหลวงสงขลานครินทร์ พระบรมราชชนก ได้สิ้นพระชนม์ลง ทำให้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลต้องทรงเป็นกำพร้า ซึ่งขณะนั้นมีพระชนมายุเพียง 4 พรรษา พระองค์จึงทรงอยู่ในอุปการะและพระอภิบาลของสมเด็จพระบรมราชชนนีแต่เพียงพระองค์เดียวอย่างเข้มงวดและใกล้ชิด

ในปี พ.ศ.2474 ขณะที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล มีพระชนมายุได้ 7 พรรษา ทรงเข้ารับการศึกษาในแผนกอนุบาลที่ โรงเรียนมาแตร์เดอี โดยมี แม่ชีมากาแรต แมรี เป็นครูประจำชั้น ต่อมาในปี พ.ศ.2475 ได้ทรงย้ายไปศึกษาที่โรงเรียนเทพศิริรนทร์ ในระหว่างนั้นเกิดภาวะเศรษฐกิจตกต่ำไปทั่วโลก อีกทั้งเกิดการยึดอำนาจเปลี่ยนแปลงระบบการปกครองในปี พ.ศ.2475

ต่อมา ในปี พ.ศ.2476 สมเด็จพระบรมราชชนนี จึงทรงตัดสินพระทัยพาพระโอรสธิดาทั้งสาม เสด็จไปต่างประเทศเพื่อการรักษาพระพลานามัยและเพื่อการศึกษา ทรงเลือก เมืองโลซานน์ ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ เป็นที่ประทับ เนื่องจากเป็นเมืองที่มีอากาศดี ภูมิประเทศสวยงาม และพลเมืองมีอัธยาศัยดี พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล ทรงเข้าศึกษาชั้นประถมที่โรงเรียนมิเรมองต์ ในเดือนกันยายน พ.ศ.2476

ในขณะที่ทรงประทับอยู่ ณ เมืองโลซานน์ ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ เป็นเวลาเดียวกับที่ประเทศไทยได้เกิดความขัดแย้งทางการเมืองขึ้นอย่างรุนแรง วันที่ 2 มีนาคม พ.ศ.2477 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 ทรงประกาศสละราชสมบัติ ซึ่งพระองค์ไม่มีพระราชโอรสหรือพระราชธิดาเลย และทรงสละสิทธิ์การแต่งตั้งผู้รับราชสมบัติด้วย ทางรัฐบาลไทยสมัยนั้นจึงได้กราบบังคมทูลเชิญ พระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าอานันทมหิดล ซึ่งเป็นพระราชวงศ์องค์ที่ 1 ในลำดับการสืบสันตติวงศ์ ตามกฎมณเฑียรบาล พ.ศ.2467 ขึ้นครองราชย์ เป็นพระมหากษัตริย์รัชกาลที่ 8 แห่งบรมราชจักรีวงศ์ ขณะนั้นทรงมีพระชนมายุเพียง 8 พรรษา

ในวันที่ 7 มีนาคม พ.ศ.2477 ทางรัฐบาลไทยโดย พระยาพหลพลพยุหเสนา นายกรัฐมนตรี ได้ส่งโทรเลขไปอัญเชิญพระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าอานันทมหิดล ขึ้นเสวยราชสมบัติ และได้แต่งตั้งให้เจ้าพระยาศรีธรรมาธิเบศ ประธานสภาผู้แทนราษฎร เป็นผู้ถือสำเนาโทรเลขของรัฐบาล เดินทางไปยังประเทศสวิสเซอร์แลนด์ เข้าเฝ้าสมเด็จพระบรมราชชนนี และได้ออกประกาศฉบับหนึ่งแจ้งให้ประชาชนไทยทราบ ในวันที่ 8 และ 9 มีนาคม พ.ศ.2477 หนังสือพิมพ์ในเมืองไทยต่างลงเรื่องราวเกี่ยวกับยุวกษัตริย์พระองค์นี้อย่างเอิกเกริกแพร่หลาย ไม่ว่าจะเป็นพระราชประวัติของพระองค์ท่าน และเรื่องราวเกี่ยวกับสมเด็จพระบรมราชชนก สมเด็จพระบรมราชชนนี เป็นต้น

เมื่อพระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าอานันทมหิดลขึ้นทรงราชย์ รัฐบาลได้มีหนังสือเชิญเสด็จนิวัตรสู่ประเทศไทยเป็นการชั่วคราว เพื่อให้ประชาชนได้เฝ้าชื่นชมพระบารมี ในวันที่ 22 ตุลาคม พ.ศ.2481 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล พร้อมด้วยสมเด็จพระบรมราชนนี สมเด็จพระเชษฐาภคินี และสมเด็จพระอนุชา ได้เสด็จออกจากเมืองโลซานน์โดยทางรถไฟ มาประทับเรือเดินสมุทรที่ท่าเรือเมืองมาร์แซย์ ประเทศฝรั่งเศส

เช้าวันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ.2481 เรือพระที่นั่งเทียบท่าจอดทอดสมอที่เกาะสีชัง คณะผู้สำเร็จราชการและนายกรัฐมนตรี จึงได้เชิญเสด็จลงประทับในเรือรบหลวงศรีอยุธยาอีกทอดหนึ่ง เวลา 16.00 น. เรือพระที่นั่งเข้าเทียบท่าราชวรดิษฐ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล ประทับอยู่ในพระราชอาณาจักรได้ประมาณ 2 เดือน จึงได้เสด็จพระราชดำเนินกลับเพื่อไปศึกษาต่อ

ในวันที่ 13 มกราคม พ.ศ.2482 ก่อนเสด็จพระราชดำเนินกลับไปศึกษาต่อ ทรงมีกระแสพระราชดำรัสผ่านทางสถานีวิทยุกระจายเสียง ทรงขอบใจรัฐบาลและเหล่าพสกนิกรชาวไทยที่ให้การต้อนรับพระองค์อย่างดียิ่ง

ในปี พ.ศ.2486 เมื่อทรงมีพระชนมายุได้ 18 พรรษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล ทรงสำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมปลาย ทรงศึกษาต่อระดับอุดมศึกษาในคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยโลซานน์ ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ พระองค์ทรงพระปรีชาสามารถกอรปไปด้วยพระวิริยะอุตสาหะอย่างดียิ่ง ซึ่งพระองค์ทรงมีผลการเรียนดีเยี่ยมมาโดยตลอด

วันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ.2488 เวลา 9.00 น. เครื่องบินพระที่นั่ง เดินทางถึงสนามบินดอนเมือง ข้าราชการ ทหาร พลเรือน และพสกนิกร ต่างไปเฝ้ารอรับเสด็จอย่างเนืองแน่น ในปี พ.ศ.2488 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล ทรงมีพระชนมายุ 20 พรรษาบริบูรณ์ ทางรัฐบาลจึงได้กราบบังคมทูลอัญเชิญเสด็จพระราชดำเนินกลับพระนครเพื่อครองราชย์ แต่พระองค์ยังทรงมีพระราชประสงค์ที่จะศึกษาวิชากฎหมายและเศรษฐศาสตร์ให้สำเร็จเสียก่อน จึงทรงดำริที่จะเสด็จกลับยังประเทศไทยเป็นการชั่วคราวเท่านั้น

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล ทรงตั้งพระราชหฤทัยจะประทับอยู่ในประเทศไทยประมาณ 1 เดือน จากนั้นจะเสด็จกลับไปยังเมืองโลซานน์ ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ ให้ทันเปิดภาคเรียนใหม่ในกลางเดือนมกราคม พ.ศ.2489 แต่พระองค์ต้องทรงเลื่อนกำหนดเสด็จกลับไปหลายครั้ง เนื่องด้วยมีพระราชภารกิจหลายสิ่งที่จำเป็นสำหรับประเทศชาติและพสกนิกรของพระองค์

หลังจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล เสด็จประทับอยู่ในประเทศไทย จนถึงกลางปี พ.ศ.2489 ทรงมีพระราชประสงค์จะเสด็จกลับไปศึกษาต่อให้สำเร็จ โดยมีหมายกำหนดการเสด็จกลับในวันที่ 13 มิถุนายน พ.ศ.2489 แต่แล้วก็เกิดเหตุการณ์ที่ไม่คาดฝันขึ้น

ในเช้าวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ.2489 เวลา 09.00 น. เสียงปืนนัดหนึ่งดังขึ้นในห้องพระบรรทม ณ พระที่นั่งบรมพิมาน ในพระบรมมหาราชวัง มหาดเล็กหน้าห้องพระบรรทมเข้าไปดู พบพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลทรงพระบรรทมอยู่บนพระที่ มีพระโลหิตไหลเปื้อนพระองค์ และเสด็จสวรรคตแล้วด้วยพระแสงปืน

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล รัชกาลที่ 8 แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ เสด็จสวรรคตในขณะที่ทรงมีพระชนมายุเพียง 21 พรรษา รวมเวลาอยู่ในสิริราชสมบัติเพียง 13 ปี

พระราชประวัติรัชกาลที่7

ในวันที่ 8 พฤศจิกายน ของทุกปี เป็นวันคล้ายวันพระราชสมภพ ขององค์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 7 ซึ่งเป็นพระมหากษัตริย์ในราชวงศ์จักรี ลำดับที่ 7  แห่งราชอาณาจักรสยาม ที่ทรงขึ้นเสวยราชสมบัติเป็นพระมหากษัตริย์ เมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468 และทงสละราชสมบัติเมื่อวันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2477 รวม ดำรงสิริราชสมบัติ 9 ปี ก่อนเสด็จสวรรคต เมื่อวันที่ 30 พฤษภาคมพ.ศ. 2484 ด้วยเหตุนี้สกูปเอ็มไทย จึงขอนำพระราชประวัติรัชกาลที่ 7 เพื่อเป็นเกียรติแห่งพระองค์ท่านกันครับ
พระราชประวัติรัชกาลที่ 7
พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว พระนามเต็ม คือพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาประชาธิปกฯ พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นพระมหากษัตริย์ลำดับที่ 7 ทรงเป็นพระราชโอรสองค์ที่ 76 ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ทรงพระราชสมภพเมื่อวันพุธ แรม 14 ค่ำ เดือน 11 ปีมะเส็ง ตรงกับวันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2436 ณ พระที่นั้งสุทธาศรีภิรมย์
พระองค์ทรงเข้ารับการศึกษาตามประเพณีขัตติยาราชกุมาร ต่อมาได้เสด็จไปศึกษาวิชาการที่ประเทศอังกฤษ เมื่อกรกฏาคม พ.ศ. 2449 ในขณะนั้น พระองค์มีพระชนม์มายุเพียง 13 พรรษา ทรงเริ่มรับการศึกษาในวิชาสามัญในวิทยาลัยอีตันซึ่งเป็นโรงเรียนมัธยมชั้นหนึ่งของประเทศอังกฤษ หลังจากนั้นพระองค์ทรงเข้าศึกษาต่อวิชาทหารที่โรงเรียนนายร้อยทหาร ณ เมืองวูลิช พระองค์ทรงได้รับยศเป็นนายพันโททหารบก ตำแหน่งราชองครักษ์
การขึ้นครองราช
เมื่อได้เสด็จขึ้นครองราชย์แล้ว โปรดแต่งตั้งสภาอิรัฐมนตรีขึ้นให้มีหน้าที่ให้คําปรึกษาราชการและบริหารการเมือง โปรดให้ร่วมการศึกษาวิทยุคมนาคมกับต่างประเทศ พระองค์เริ่มจัดงบประมาณของประเทศขึ้นเพราะขณะนั้นได้เกิดเศรษฐกิจตกตํ่าทั่วโลก พระองค์เริ่มต้นตัดทอนงบประมาณแผ่นดินเป็นครั้งแรกเหตุการณ์นี้เป็นมูลเหตุของการปฎิวัติใน ปีพ.ศ. 2475 ประองค์ทรงตัดทอนรายจ่ายของพระองค์เอง ข้าราชการที่รับราชการที่จนล้นงานก็ให้ออกจากกระทรวงทบวงกรมต่างๆ เป็นจํานวนมาก
การสละราชสมบัติ
หลังจากเหตุการณ์การปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475 พระองค์เสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินีไปเจริญทางพระราชไมตรีกับประเทศในแถบยุโรป พร้อมทั้งเสด็จประทับที่ประเทศอังกฤษ เพื่อทรงเข้ารับการผ่าตัดและรักษาพระเนตร ในการนี้ได้แต่งตั้งสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระนริศรานุวัดติวงศ์เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ในระหว่างนี้พระองค์ยังทรงติดต่อราชการกับรัฐบาลผ่านทางผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ซึ่งยังคงปรากฏข้อขัดแย้งต่าง ๆ ที่ไม่สามารถหาข้อยุติกันได้ พระองค์จึงมีพระราชดำริที่จะสละราชสมบัต…
ทรงเสด็จสวรรคต
หลังจากที่พระองค์ทรงสละราชสมบัติแล้ว พระองค์ยังคงประทับอยู่ ณ ประเทศอังกฤษ แต่พระองค์ทรงพระประชวรอยู่เนื่อง ๆ อันเนื่องมาจากพระพลนามัยของพระองค์ไม่ทรงแข็งแรงมาตั้งแต่ทรงพระเยาว์ โดย พ.ศ. 2480 พระองค์ทรงพระประชวรมากด้วยโรคตัวบิดเข้าไปอยู่ในพระยกนะ (ตับ) แต่แพทย์ได้รักษาจนเป็นปกติ พระอาการประชวรของพระองค์กำเริบหนักขึ้นโดยลำดับตั้งแต่ธันวาคม พ.ศ. 2483 แต่ก็เริ่มทุเลาขึ้นเรื่อยมา กระทั่งวันที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2484 พระองค์เสด็จสวรรคตโดยฉับพลันด้วยพระหทัยวาย ขณะที่มีพระชนมายุ 47 พรรษา
ตราประจำรัชกาลที่ 7
ตราประจำรัชกาลที่ 7
ตราประจำรัชกาลที่ 7
พระบรมราชสัญลักษณ์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 เรียกว่า พระราชลัญจกรพระแสงศร เป็นรูปพระแสงศร 3 องค์ คือ พระแสงศรพรหมาสตร์ พระแสงศรประลัยวาต พระแสงศรอัคนีวาต เหนือราวพาดพระแสงเป็นดวงตรามหาจักรีบรมราชวงศ์ภายใต้พระมหาพิชัยมงกุฎ เบื้องซ้ายและเบื้องขวาของราวพาดพระแสงตั้งบังแทรก สอดแทรกด้วยลายกนกอยู่บนพื้นตอนบนของดวงตรา พระแสงศร 3 องค์นี้ เป็นพระราชสัญลักษณ์ของพระบรมนามาภิไธยว่า “ประชาธิปกศักดิเดชน์” ซึ่งมาจากความหมายของศัพท์ คำสุดท้ายของวรรคที่ว่า “เดชน์” แปลว่า ลูกศร

พระราชประวัติรัชกาลที่6


พระราชประวัติแก้ไข

ทูลกระหม่อมจุฬาลงกรณ์
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2396เป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ประสูติแต่กรมสมเด็จพระเทพศิรินทรามาตย์ (ในรัชกาลที่ 6 ได้มีการเปลี่ยนแปลงพระนามเจ้านายฝ่ายในตามราชประเพณีนิยมเป็น สมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี) ได้รับพระราชทานนามว่า สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ บดินทรเทพมหามงกุฎ บุรุษยรัตนราชรวิวงศ์วรุตมพงศบริพัตร สิริวัฒนราชกุมาร ซึ่งคำว่า "จุฬาลงกรณ์" นั้นแปลว่า เครื่องประดับผม อันหมายถึง "พระเกี้ยว" ที่มีรูปเป็นส่วนยอดของพระมหามงกุฎหรือยอดชฎา
พระองค์มีพระขนิษฐาและพระอนุชาร่วมพระมารดารวม 3 พระองค์ ได้แก่ สมเด็จเจ้าฟ้าจันทรมณฑล,สมเด็จเจ้าฟ้าจาตุรนต์รัศมี และ สมเด็จเจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์

การศึกษาแก้ไข

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงได้รับการศึกษาเบื้องต้นในสำนักพระเจ้าอัยยิกาเธอ กรมหลวงวรเสรฐสุดา ทรงได้การศึกษาภาษาเขมรจากหลวงราชาภิรมย์ ทรงได้การศึกษาการยิงปืนไฟจากพระยาอภัยเพลิงศร วันที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2404 สมเด็จฯ เจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ ได้รับการสถาปนาเป็นเจ้าฟ้าต่างกรมที่ สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ กรมหมื่นพิฆเนศวรสุรสังกาศ [2] และเมื่อ พ.ศ. 2409 พระองค์ผนวชตามราชประเพณี ณ วัดบวรนิเวศวิหาร ภายหลังจากการผนวช พระองค์ได้รับการเฉลิมพระนามาภิไธยขึ้นเป็น สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ กรมขุนพินิตประชานาถ เมื่อปี พ.ศ. 2410 โดยทรงกำกับราชการกรมมหาดเล็ก กรมพระคลังมหาสมบัติ และกรมทหารบกวังหน้า [3]

บรมราชาภิเษกครั้งที่ 1แก้ไข

พระมหากษัตริย์แห่ง
ราชวงศ์จักรี
Buddha Yodfa Chulaloke portrait.jpgพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก
Buddha Loetla Nabhalai portrait.jpgพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
Nangklao portrait.jpgพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
Rama4 portrait (cropped).jpgพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
King Chulalongkorn.jpgพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
King Vajiravudh.jpgพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
Prajadhipok portrait.jpgพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
Ananda Mahidol portrait.jpgพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล
Bhumibol Adulyadej portrait.jpgพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
    
วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2411 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคตภายหลังเสด็จออกทอดพระเนตรสุริยุปราคา โดยก่อนที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจะสวรรคตนั้น ได้มีพระราชหัตถเลขาไว้ว่า "พระราชดำริทรงเห็นว่า เจ้านายซึ่งจะสืบพระราชวงศ์ต่อไปภายหน้า พระเจ้าน้องยาเธอก็ได้ พระเจ้าลูกยาเธอก็ได้ พระเจ้าหลานเธอก็ได้ ให้ท่านผู้หลักผู้ใหญ่ปรึกษากันจงพร้อม สุดแล้วแต่จะเห็นดีพร้อมกันเถิด ท่านผู้ใดมีปรีชาควรจะรักษาแผ่นดินได้ก็ให้เลือกดูตามสมควร" ดังนั้น เมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรคต จึงได้มีการประชุมปรึกษาเรื่องการถวายสิริราชสมบัติแด่พระเจ้าแผ่นดินพระองค์ใหม่ ซึ่งในที่ประชุมนั้นประกอบด้วยพระบรมวงศานุวงศ์ ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ และพระสงฆ์ โดยพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงเทเวศร์วัชรินทร์ ได้เสนอสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ กรมขุนพินิตประชานาถ พระราชโอรสพระองค์ใหญ่ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวขึ้นเป็นพระเจ้าแผ่นดิน ซึ่งที่ประชุมนั้นมีความเห็นพ้องเป็นเอกฉันท์ ดังนั้น พระองค์จึงได้รับการทูลเชิญให้ขึ้นครองราชสมบัติต่อจากสมเด็จพระราชบิดา [4] โดยในขณะนั้น มีพระชนมายุเพียง 15 พรรษา ดังนั้น จึงได้แต่งตั้งสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ จนกว่าพระองค์จะมีพระชนมพรรษครบ 20 พรรษา โดยทรงประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษกครั้งแรก เมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2411 โดยได้รับการเฉลิมพระปรมาภิไธยว่าพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ฯ พระจุฬาลงกรณ์เกล้าเจ้าอยู่หัว โดยมีพระนามตามจารึกในพระสุบรรณบัฎว่า[3]
"พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ บดินทรเทพยมหามงกุฏ บุรุษรัตนราชรวิวงศ วรุตมพงศบริพัตร์ วรขัติยราชนิกโรดม จาตุรันบรมมหาจักรพรรดิราชสังกาศ อุภโตสุชาติสังสุทธเคราะหณี จักรีบรมนาถ อดิศวรราชรามวรังกูร สุภาธิการรังสฤษดิ์ ธัญลักษณวิจิตรโสภาคยสรรพางค์ มหาชโนตมางคประนตบาทบงกชยุคล ประสิทธิสรรพศุภผลอุดม บรมสุขุมมาลย์ ทิพยเทพาวตารไพศาลเกียรติคุณอดุลยวิเศษ สรรพเทเวศรานุรักษ์ วิสิษฐศักดิ์สมญาพินิตประชานาถ เปรมกระมลขัติยราชประยูร มูลมุขราชดิลก มหาปริวารนายกอนันต มหันตวรฤทธิเดช สรรพวิเศษสิรินทร อเนกชนนิกรสโมสรสมมติ ประสิทธิ์วรยศมโหดมบรมราชสมบัติ นพปดลเศวตฉัตราดิฉัตร สิริรัตโนปลักษณมหาบรมราชาภิเษกาภิลิต สรรพทศทิศวิชิตชัย สกลมไหสวริยมหาสวามินทร์ มเหศวรมหินทร มหารามาธิราชวโรดม บรมนาถชาติอาชาวศรัย พุทธาทิไตยรัตนสรณารักษ์ อดุลยศักดิ์อรรคนเรศราธิบดี เมตตากรุณาสีตลหฤทัย อโนปมัยบุญการสกลไพศาล มหารัษฎาธิบดินทร ปรมินทรธรรมิกหาราชาธิราช บรมนาถบพิตร พระจุฬาลงกรณ์เกล้าเจ้าอยู่หัว"

ผนวชและบรมราชาภิเษกครั้งที่ 2แก้ไข

บรมราชาภิเษกครั้งที่สอง
เมื่อพระองค์มีพระชนมายุครบ 20 พรรษาแล้ว เมื่อวันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2416 จึงผนวช ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม เป็นพระภิกษุ แล้วเสด็จไปประทับ ณ วัดบวรนิเวศวิหารเป็นเวลา 15 วัน หลังจากทรงลาสิกขาแล้ว ได้มีการจัดพระราชพิธีบรมราชาภิเษกครั้งที่ 2 ขึ้น เมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายนพ.ศ. 2416 โดยได้รับการเฉลิมพระปรมาภิไธยในครั้งนี้ว่า พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ฯ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระนามตามจารึกในพระสุบรรณบัฎว่า[5]
"พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ บดินทรเทพยมหามงกุฏ บุรุษยรัตนราชรวิวงศ์ วรุตมพงศบริพัตร วรขัติยราชนิกโรดม จาตุรันตบรมมหาจักรพรรดิราชสังกาศ อุภโตสุชาติสังสุทธเคราะหณี จักรีบรมนาถ มหามงกุฎราชวรางกูร สุจริตมูลสุสาธิต อรรคอุกฤษฏไพบูลย์ บุรพาดูลย์กฤษฎาภินิหาร สุภาธิการรังสฤษดิ์ ธัญลักษณวิจิตร โสภาคยสรรพางค์ มหาชโนตมางคประณต บาทบงกชยุคล ประสิทธิสรรพศุภผลอุดมบรมสุขุมมาลย์ ทิพยเทพาวตารไพศาลเกียรติคุณอดุลยพิเศษ สรรพเทเวศรานุรักษ์ วิสิษฐศักดิ์สมญาพินิตประชานาถ เปรมกระมลขัติยราชประยูร มูลมุขมาตยาภิรมย์ อุดมเดชาธิการ บริบูรณ์คุณสารสยามาทินครวรุตเมกราชดิลก มหาปริวารนายกอนันต์มหันตวรฤทธิเดช สรรพวิเศษสิรินธร อเนกชนนิกรสโมสรสมมติ ประสิทธิ์วรยศมโหดมบรมราชสมบัติ นพปฎลเศวตฉัตราดิฉัตร สิริรัตโนปลักษณมหาบรมราชาภิเษกาภิลิต สรรพทศทิศวิชิตชัย สกลมไหศวริยมหาสวามินทร์ มเหศวรมหินทรมหารามาธิราชวโรดม บรมนาถชาติอาชาวศรัย พุทธาทิไตรรัตนสรณารักษ์ อดุลยศักดิ์อรรคนเรศราธิบดี เมตตากรุณาสีตลหฤทัย อโนปมัยบุญการ สกลไพศาลมหารัษฎาธิบดินทร ปรมินทรธรรมิกหาราชาธิราช บรมนาถบพิตร พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว"

สวรรคตแก้ไข

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคตด้วยโรคพระวักกะ (ไต) เมื่อวันที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2453 เวลา 2.45 นาฬิกา ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต รวมพระชนมพรรษาได้ 57 พรรษา [6] ทั้งนี้ รัฐบาลได้จัดให้วันที่ 23 ตุลาคม ของทุกปี เป็นวันปิยมหาราช และเป็นวันหยุดราชการ

พระราชกรณียกิจแก้ไข

ต้นศตวรรษที่ 20 ทรงถูกจัดให้เป็น 1 ในผู้นำของ 16 ชาติผู้จะชี้นำโลก
พระราชกรณียกิจที่สำคัญของรัชกาลที่ 5 ได้แก่ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มีเลิกทาส การป้องกันการเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศส และจักรวรรดิอังกฤษ ได้มีการประกาศออกมาให้มีการนับถือศาสนาโดยอิสระในประเทศ โดยบุคคลศาสนาคริสต์และศาสนาอิสลามสามารถปฏิบัติศาสนกิจได้อย่างอิสระ นอกจากนี้ได้มีการนำระบบจากทางยุโรปมาใช้ในประเทศไทย ได้แก่ระบบการใช้ธนบัตรและเหรียญบาท ใช้ระบบเขตการปกครองใหม่ เช่น มณฑลเทศาภิบาล จังหวัดและอำเภอ และได้มีการสร้างรถไฟ สายแรก คือ กรุงเทพฯ ถึง เมืองนครราชสีมา ลงวันที่ 1 มีนาคม ร.ศ.109 ซึ่งตรงกับ พุทธศักราช 2433 นอกจากนี้ได้มีงานพระราชนิพนธ์ ที่สำคัญ การก่อตั้งการประปา การไฟฟ้า ไปรษณีย์โทรเลข โทรศัพท์ การสื่อสาร การรถไฟ ส่วนการคมนาคม ให้มีการขุดคลองหลายแห่ง เช่น คลองประเวศบุรีรมย์ คลองสำโรง คลองแสนแสบ คลองนครเนื่องเขต คลองรังสิตประยูรศักดิ์ คลองเปรมประชากร และ คลองทวีวัฒนา ยังทรงโปรดเกล้าฯ ให้ขุดคลองส่งน้ำประปา จากเชียงราก สู่สามเสน อำเภอดุสิต จังหวัดพระนคร ซึ่งคลองนี้ส่งน้ำจากแหล่งน้ำดิบเชียงราก ผ่านอำเภอสามโคก อำเภอเมืองปทุมธานี อำเภอคลองหลวง อำเภอธัญบุรีและอำเภอลำลูกกาจังหวัดปทุมธานี,อำเภอปากเกร็ด และ อำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี และ เขตสายไหม เขตบางเขน เขตดอนเมือง เขตหลักสี่ เขตจตุจักร เขตบางซื่อ เขตดุสิต เขตพญาไท และ เขตราชเทวีกรุงเทพมหานคร
พระราชกรณียกิจด้านสังคม ทรงยกเลิกระบบไพร่โดยให้ไพร่เสียเงินแทนการถูกเกณฑ์ นับเป็นการเกิดระบบทหารอาชีพในประเทศไทย[7] นอกจากนี้ พระองค์ยังทรงดำเนินการเลิกทาสแบบค่อยเป็นค่อยไป เริ่มจากออกกฎหมายให้ลูกทาสอายุครบ 20 ปีเป็นอิสระ จนกระทั่งออกพระราชบัญญัติเลิกทาส ร.ศ. 124 (พ.ศ. 2448) ซึ่งปล่อยทาสทุกคนให้เป็นอิสระและห้ามมีการซื้อขายทาส[8]

การปฏิรูปการปกครองแก้ไข

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงตระหนักถึงการคุกคามจากจักรวรรดินิยมตะวันตกที่มีต่อประเทศในแถบเอเชีย โดยมักอ้างความชอบธรรมในการเข้ายึดครองดินแดนแถบนี้ว่าเป็นการทำให้บ้านเมืองเจริญก้าวหน้าอันเป็น "ภาระของคนขาว"[9] ทำให้ต้องทรงปฏิรูปบ้านเมืองให้ทันสมัย โดยพระราชกรณียกิจดังกล่าวเริ่มขึ้นตั้งแต่ พ.ศ. 2416[9]
ประการแรก ทรงตั้งสภาที่ปรึกษาขึ้นมาสองสภา ได้แก่ สภาที่ปรึกษาราชการแผ่นดิน (เคาน์ซิลออฟสเตต) และสภาที่ปรึกษาในพระองค์ (ปรีวีเคาน์ซิล) ในปี พ.ศ. 2417 และทรงตั้งขุนนางระดับพระยา 12 นายเป็น "เคาน์ซิลลอร์" ให้มีอำนาจขัดขวางหรือคัดค้านพระราชดำริได้ และทรงตั้งพระราชวงศานุวงศ์ 13 พระองค์ และขุนนางอีก 36 นาย ช่วยถวายความคิดเห็นหรือเป็นกรรมการดำเนินการต่าง ๆ แต่สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ขุนนางตระกูลบุนนาค และกรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ เห็นว่าสภาที่ปรึกษาเป็นความพยายามดึงพระราชอำนาจของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทำให้เกิดความขัดแย้งที่เรียกว่า วิกฤตการณ์วังหน้า[10] วิกฤตการณ์ดังกล่าวทำให้การปฏิรูปการปกครองชะงักลงกระทั่ง พ.ศ. 2428
พ.ศ. 2427 ทรงปรึกษากับพระองค์เจ้าปฤษฎางค์ อัครราชทูตไทยประจำอังกฤษ ซึ่งพระองค์เจ้าปฤษฎางค์ พร้อมเจ้านายและข้าราชการ 11 นาย ได้กราบทูลเสนอให้เปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นแบบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ แต่พระองค์ทรงเห็นว่ายังไม่พร้อม แต่ก็โปรดให้ทรงศึกษารูปแบบการปกครองแบบประเทศตะวันตก และ พ.ศ. 2431 ทรงเริ่มทดลองแบ่งงานการปกครองออกเป็น 12 กรม (เทียบเท่ากระทรวง)[11]
พ.ศ. 2431 ทรงตั้ง "เสนาบดีสภา" หรือ "ลูกขุน ณ ศาลา" ขึ้นเป็นฝ่ายบริหาร ต่อมา ใน พ.ศ. 2435 ได้ตั้งองคมนตรีสภา เดิมเรียกสภาที่ปรึกษาในพระองค์ เพื่อวินิจฉัยและทำงานให้สำเร็จ และรัฐมนตรีสภา หรือ "ลูกขุน ณ ศาลาหลวง" ขึ้นเพื้อปรึกษาราชการแผ่นดินที่เกี่ยวกับกฎหมาย นอกจากนี้ยังทรงจัดให้มี "การชุมนุมเสนาบดี" อันเป็นการประชุมปรึกษาราชการที่มุขกระสันพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท[12]
ด้วยความพอพระทัยในผลการดำเนินงานของกรมทั้งสิบสองที่ได้ทรงตั้งไว้เมื่อ พ.ศ. 2431 แล้ว พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงทรงประกาศตั้งกระทรวงขึ้นอย่างเป็นทางการจำนวน 12 กระทรวง เมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2435 อันประกอบด้วย
  1. กระทรวงมหาดไทย รับผิดชอบงานที่เดิมเป็นของสมุหนายก ดูแลกิจการพลเรือนทั้งหมดและบังคับบัญชาหัวเมืองฝ่ายเหนือและชายทะเลตะวันออก
  2. กระทรวงนครบาล รับผิดชอบกิจการในพระนคร
  3. กระทรวงโยธาธิการ รับผิดชอบการก่อสร้าง
  4. กระทรวงธรรมการ ดูแลการศาสนาและการศึกษา
  5. กระทรวงเกษตรพานิชการ รับผิดชอบงานที่ในปัจจุบันเป็นของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์และกระทรวงพาณิชย์
  6. กระทรวงยุติธรรม ดูแลเรื่องตุลาการ
  7. กระทรวงมรุธาธร ดูแลเครื่องราชูปโภคของพระมหากษัตริย์
  8. กระทรวงยุทธนาธิการ รับผิดชอบปฏิบัติการการทหารสมัยใหม่ตามแบบยุโรป
  9. กระทรวงพระคลังสมบัติ รับผิดชอบงานที่ในปัจจุบันเป็นของกระทรวงการคลัง
  10. กระทรวงการต่างประเทศ (กรมท่า) รับผิดชอบการต่างประเทศ
  11. กระทรวงกลาโหม รับผิดชอบกิจการทหาร และบังคับบัญชาหัวเมืองฝ่ายใต้
  12. กระทรวงวัง รับผิดชอบกิจการพระมหากษัตริย์[13]
หลังจากวิกฤตการณ์ ร.ศ. 112 (พ.ศ. 2436) ทรงให้กระทรวงมหาดไทยรับผิดชอบกิจการพลเรือนเพียงอย่างเดียว และให้กระทรวงกลาโหมรับผิดชอบกิจการทหารเพียงอย่างเดียว ยุบกรม 2 กรม ได้แก่ กรมยุทธนาธิการ โดยรวมเข้ากับกระทรวงกลาโหม และกรมมรุธาธร โดยรวมเข้ากับกระทรวงวัง และเปลี่ยนชื่อกระทรวงเกษตรพานิชการ เป็น กระทรวงเกษตราธิการ ด้านการปกครองส่วนภูมิภาค มีการรวมอำนาจเข้าสู่ศูนย์กลาง ทำให้ไทยกลายมาเป็นรัฐชาติสมัยใหม่[14] โดยการลดอำนาจเจ้าเมือง และนำข้าราชการส่วนกลางไปประจำแทน ทรงทำให้นครเชียงใหม่ (พ.ศ. 2317-2442) รวมเข้าเป็นส่วนหนึ่งของสยาม ตลอดจนทรงแต่งตั้งให้กรมหมื่นประจักษ์ศิลปาคม ไปประจำที่อุดรธานี เป็นจุดเริ่มต้นของการปกครองแบบเทศาภิบาล[15]
พ.ศ. 2437 ทรงกำหนดให้เทศาภิบาลขึ้นกับกระทรวงมหาดไทย ยกเลิกระบบกินเมือง และระบบหัวเมืองแบบเก่า (ได้แก่ หัวเมืองชั้นใน ชั้นนอก และเมืองประเทศราช) จัดเป็นมณฑล เมือง อำเภอ หมู่บ้าน ระบบเทศาภิบาลดังกล่าวทำให้สยามกลายเป็นรัฐชาติที่มั่นคง มีเขตแดนที่ชัดเจนแน่นอน นับเป็นการรักษาเอกราชของประเทศ และทำให้ราษฎรมีคุณภาพชีวิตดีขึ้น[16]
พระองค์ยังได้ส่งเจ้านายหลายพระองค์ไปศึกษาในทวีปยุโรป เพื่อมาดำรงตำแหน่งสำคัญในการปกครองที่ได้รับการปฏิรูปใหม่นี้ และทรงจ้างชาวต่างประเทศมารับราชการในตำแหน่งที่คนไทยยังไม่เชี่ยวชาญ ทรงตั้งสุขาภิบาลแห่งแรกของประเทศที่ท่าฉลอม พ.ศ. 2448[7]